โรคอะไรบ้างที่มากับฤดูร้อนพบได้บ่อยในประเทศไทย เราไปทำความรู้จักกับสาเหตุการเกิดโรค เพื่อเป็นแนวทางป้องกันกับโรคเหล่านี้กันค่ะ
1.โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีความร้อนสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องทันท่วงที จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย หรืออาจเสียชีวิตได้
2.โรคผิวหนังในฤดูร้อน เช่น ผดร้อน ฝ้า กระ และกลุ่มติดเชื้อราต่าง ๆ แนะนำให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง ทากันแดดอย่างสม่ำเสมอ และใช้อุปกรณ์ป้องกันแสงแดด
3.โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน กับอาหารที่ไม่สะอาด หรือค้างคืน และไม่ได้ทำการอุ่นร้อนก่อนรับประทาน
4.โรคอุจจาระร่วง เกิดจากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส พยาธิ สารพิษ และสารเคมีปนเปื้อน
5.ไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย เกิดจากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไทฟอยด์จากอุจจาระ หรือปัสสาวะของผู้ป่วย หรือผู้ที่เป็นพาหะโรคไทฟอยด์
6.โรคอหิวาตกโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหาร หรือน้ำที่มีเชื้ออหิวาตกโรคปะปนอยู่
7.โรคพิษสุนัขบ้า หรือ โรคกลัวน้ำ เกิดจากไวรัสเรบีสต์ พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ในประเทศไทยมักพบในสุนัข และ แมว พบบ้างในโคกระบือ โดยเชื้อจะเข้าจากบาดแผล และบริเวณเยื่อบุตา หรือปาก
แหล่งที่มา: https://www.thaipbs.or.th/news/content/337608